ทีมผู้สอน
รศ.ดร.จิรโรจน์ ต.เทียนประเสริฐ
ดร.ธีรภัทร วัชรธาราพงษ์
ดร.วิทชุกร ภู่ทอง
หัวข้อการเรียนการสอนต่างๆ จะเป็นไปตามหนังสือของภาควิชาฟิสิกส์
บทที่ 1 ไฟฟ้าสถิต (ประจุ, การให้ประจุม กฎของคูลอมบ์, สนามไฟฟ้า, ฟลักซ์ไฟฟ้า, กฎของเกาส์)
บทที่ 2 ศักย์ไฟฟ้า (พลังงานศักย์ของประจุในสนามเอกรูป/สนามไฟฟ้าทั่วไป/สนามไฟฟ้าจากประจุจุดเดี่ยว, พลังงานศักย์ไฟฟ้าภายในระบบ, ศักย์ไฟฟ้า)
บทที่ 3 ความจุไฟฟ้า (ตัวเก็บประจุไฟฟ้า, ความจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุชนิดต่างๆ, การต่อตัวเก็บประจุ, พลังงานที่เก็บในตัวเก็บประจุ, ไดโพลไฟฟ้า, โพลาไรเซชันของไดอิเล็กทริก, ตัวเก็บประจุที่มีไดอิเล็กทริก)
บทที่ 4 ไฟฟ้ากระแสตรง (กระแสไฟฟ้า, ความต้านทานและกฎของโอห์ม, สัมประสิทธิ์อุณหภูมิของสภาพต้านทาน, การต่อตัวต้านทาน, แรงเคลื่อนไฟฟ้า, พลังงานและกำลังในวงจรไฟฟ้า, กฎของเคร์ชฮอฟฟ์, ตัวต้านทานและตัวเก็บประจุในวงจรกระแสตรง)
บทที่ 5 สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (อัตรกิริยาทางแม่เหล็ก, การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ, ปรากฎการณ์ฮอลล์, แรงแม่เหล็ก/ทอร์กแม่เหล็กบนลวดตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน, กฎของบิโอต์และซาวาร์ต, สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าในลวด/ขดลวดชนิดต่างๆ, แรงกระทำบนเส้นลวดคู่ขนานที่มีกระแสไฟฟ้า, กฎของแอมแปร์)
บทที่ 6 สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ขึ้นกับเวลา (กฎของฟาราเดย์, แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำเนื่องตากการเปลี่ยนพื้นที่ของขดลวด, การเหนี่ยวนำตัวเอง, พลังงานและความหนาแน่นพลังงานสนามแม่เหล็ก, การเหนี่ยวนำร่วม)
บทที่ 7 วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ (กระแสและความต่างศักย์ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ, ค่าเแลี่ย ค่ารากกำลังสองเฉลี่ยและกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ, ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ, วงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุ, เรโซแนนซ์ในวงจรไฟฟ้า, หม้อแปลง)
บทที่ 8 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (สมการของแมกซ์เวลล์, พลังงานและโมเมนตัม, การก่อกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, การเคลื่อนที่ในตัวกลาง, สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)
บทที่ 9 ทัศนศาสตร์เรขาคณิต (หน้าคลื่นและรังสี, หลักของฮอยเกนส์, การสะท้อนของแสงที่ผิวระนาและผิวโค้ง, การหักเหของแสงที่ผิวระนาบ, การสะท้อนภายในกลับหมด, การหักเหของแสงที่ผิวโค้งทรงกลม ผ่านเลนส์หนา ผ่านเลนส์บาง, ปริซึมและการกระจายแสง, ตาและความผิดปกติของตาในการรับภาพ)
บทที่ 10 ทัศนศาสตร์กายภาพ (การแทรกสอด, การเปลี่ยนเฟสเนื่องจากการสะท้อน, การแทรกสอดในฟิล์มบาง, การเลี้ยวเบน, กำลังแยกของกล้องจุลทรรศน์และโทรทรรศน์, เกรตติงเลี้ยวเบนและกำลังแยก, โพลาไรเชัน, การทำแสงโพลาไรส์)
บทที่ 11 ทฤษฎีควอนตัมเบื้องต้น (การแผ่รังสีของวัตถุดำ, ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกและทฤษฎีโฟตอนของไอน์สไตน์, ปรากฏการณ์คอมป์ตัน, โฟตอนและการผลิตคู่, ทวิภาพของคลื่นและอนุภาค, รังสีเอกซ์และการเลี้ยวเบน, การเลี้ยวเบนของอนุภาค, กล้องจุลทรรน์อิเล็กตรอน)
บทที่ 12 โครงสร้างของอะตอม (อะตอม, อะตอมเชิงซ้อน)
บทที่ 13 นิวเคลียสและปฏิกิริยานิวเคลียร์ (อันตรกิริยานิวเคลียร์, พลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียส, แรงนิวเคลียร์, ขนาดของนิวเคลียส, แบบจำลองของนิวเคลียส, การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี, กัมมันตภาพ, อนุกรมกัมมันตรังสี, สมดุลกัมมันตรังสี, ปฏิกิริยานิวเคลียร์, การใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์, ประโยชน์ของไอโซโทปกัมมันตรังสี)
หัวข้อการเรียนการสอนต่างๆ จะเป็นไปตามหนังสือของภาควิชาฟิสิกส์
Calculus 1+2, computer , internet
รศ.ดร.จิรโรจน์ ต.เทียนประเสริฐ
ดร.ธีรภัทร วัชรธาราพงษ์
ดร.วิทชุกร ภู่ทอง